วิทยุ

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ลำดับราชวงศ์จักรี


 ลำดับพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลปัจจุบัน ของ ราชวงศ์จักรี หรือ ราชวงศ์ไทย นี้เป็นการ ลำดับพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลปัจจุบัน ทั้ง ในหลวง พระพี่นาง พระพี่นางเธอ อ่าน ข่าว พระพี่นาง พระพี่นางเธอ ที่นี่
พสกนิกร


ลำดับที่  1  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ลำดับที่  2  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ

ลำดับที่  3  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ  สยามมกุฎราชกุมาร

ลำดับที่  4  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรฯ สยามบรมราชกุมารี

ลำดับที่  5  สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์  อัครราชกุมารี

ลำดับที่  6  สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

            ทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี

ลำดับที่  7  สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

             พระนามเดิมว่า  "หม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา"  เป็นพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ  กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระบรมราชชนก) กับหม่อมสังวาลย์ มหิดล (สมเด็จพระบรมราชชนนี) ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา" ในสมัยรัชกาลที่ 8 เป็นที่ "สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า" และได้กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์ เพื่อทำการสมรสกับพันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ จนกระทั่งในรัชกาลปัจจุบันจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคืนฐานันดรศักดิ์

ลำดับที่  8  ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

             พระนามเดิมว่า  "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ" เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับ กับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ต่อมาได้กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อทำการสมรส

ลำดับที่  9  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  สยามมกุฎราชกุมาร

             สกุลเดิม "อัครพงศ์ปรีชา" อภิเสกสมรสกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2544 ต่อมาเมื่อมีพระประสูติกาลพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ดำรงฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2548

ลำดับที่  10 พระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าโสมสวลี  พระวรราชาทินัดดามาตุ

             พระนามเดิมว่า "หม่อมหลวงโสมสวลี  กิติยากร" เป็นธิดาของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร กับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี ยุคล  อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และได้รับสถาปนาให้ดำรงฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เมื่อวันที่ 3 มกราคม  2520 ต่อมาในวันที่ 12 สิงหาคม 2534 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามเป็น "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ"  
ลำดับที่ 11 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา


          ทรงเป็นพระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดามาตุ  มีศักดิ์เป็นพระเจ้าหลานเธอพระองค์ใหญ่ในรัชกาลปัจจุบัน

ลำดับที่ 12 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์

           ทรงมีพระนามเดิมว่า "หม่อมเจ้าสิริวัณวรี  มหิดล" เป็นพระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กับนางสุจาริณี  วิวัชรวงศ์

ลำดับที่ 13 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ

            ทรงเป็นพระโอรสในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา

ลำดับที่ 14 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

            ทรงเป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์  อัครราชกุมารี  กับนาวาอากาศเอกวีรยุทธ  ดิษยศรินทร์

ลำดับที่ 15 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

            ทรงเป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กับนาวาอากาศเอกวีรยุทธ ดิษยศรินทร์ ปัจจุบันประทับอยู่กับพระบิดาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

ลำดับที่ 16 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร

           ทรงเป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธินฤมล มีศักดิ์เป็นพระหลานเธอในรัชกาลที่  5  
ลำดับที่ 17 หม่อมเจ้าหลานเธอในรัชกาลปัจจุบัน

             ราชสกุล "มหิดล" พระโอรสธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
             หม่อมเจ้าจุฑาวัชร  (มหิดล)  วิวัชรวงศ์ 
             หม่อมเจ้าวัชเรศร  (มหิดล)  วิวัชรวงศ์ 
             หม่อมเจ้าจักรีวัชร  (มหิดล)  วิวัชรวงศ์
             หม่อมเจ้าวัชรวีร์  (มหิดล)  วิวัชรวงศ์ 
     
ลำดับที่ 18 หม่อมเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่  4**  (ทรงพระดำเนินตามศักดิ์ของพระบิดา และเรียงตามพระชันษา)

             ราชสกุล "จิตรพงศ์" พระโอรสธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  ชั้น 4 เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
             หม่อมเจ้าหญิงกรณิกา  จิตรพงศ์
             ราชสกุล  "ชยางกูร"  พระโอรสธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  ชั้น 4  กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป
             หม่อมเจ้าวราชัย  ชยางกูร (2470 - ปัจจุบัน) ***
             หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา  ชยางกูร (2467 - ปัจจุบัน) ***
             หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง  ชยางกูร (2473 - ปัจจุบัน) ***
             หม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช  ชยางกูร (2475 - ปัจจุบัน) ***
             ราชสกุล "ดิศกุล" พระโอรสธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  ชั้น 4  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
             หม่อมเจ้าหญิงกฤษณาพักตรพิมล  ดิศกุล 
      
ลำดับที่  19 หม่อมเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่  5** (ทรงพระดำเนินตามศักดิ์ของพระบิดา และเรียงตามพระชันษา)

             ราชสกุล "กิติยากร" พระโอรสธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  ชั้น 5  กรมพระจันทรบุรีนฤนาท
             หม่อมเจ้าวินิตา  กิติยากร
             หม่อมเจ้าสุวนิต  กิติยากร
             หม่อมเจ้ากิตติปียา  กิติยากร
             ราชสกุล "ระพีพัฒน์" พระโอรสธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  ชั้น 5  กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
             หม่อมเจ้าวิพันธุ์ไพโรจน์  ระพีพัฒน์
             หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้า  ระพีพัฒน์
             หม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด  ระพีพัฒน์
             ราชสกุล  "ฉัตรชัย" พระโอรสธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  ชั้น 5  กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
             หม่อมเจ้าภัทรลดา (ฉัตรชัย)  ดิศกุล
             หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย
             หม่อมเจ้าชายทิพยฉัตร ฉัตรชัย
             ราชสกุล "วุฒิชัย" พระโอรสธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  ชั้น 5  กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
             หม่อมเจ้าหญิงวุฒิสวาท  วุฒิชัย
             หม่อมเจ้าหญิงวุฒิเฉลิม  วุฒิชัย 
             หม่อมเจ้าหญิงวุฒิวิฑูร  วุฒิชัย 
       
ลำดับที่ 20 หม่อมเจ้าซึ่งเป็นพระนัดดาในกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ 
             ราชสกุล "รัชนี" พระโอรสธิดาในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
             หม่อมเจ้าหญิงศะศิธรพัฒนวดี  รัชนี  
             หม่อมเจ้าภีศเดช  รัชนี 
      
ลำดับที่ 21 หม่อมเจ้าซึ่งเป็นพระราชปนัดดาในรัชกาลที่  5**  (ทรงพระดำเนินตามศักดิ์ของพระบิดา  และเรียงตามพระชันษา)
             ราชสกุล  "บริพัตร"  พระโอรสธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ  กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิต
             หม่อมเจ้าหญิงสุขุมาลมารศรี  บริพัตร
             ราชสกุล  "ยุคล"
             พระโอรสธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล 
             หม่อมเจ้าภูริพันธ์  ยุคล
             หม่อมเจ้านวพรรษ์  ยุคล 
             หม่อมเจ้าหญิงภาณุมา  ยุคล   
             พระโอรสธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร               หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม  ยุคล
             หม่อมเจ้าเฉลิมสุข  ยุคล
             หม่อมเจ้าฑิฆัมพร  ยุคล
             พระโอรสธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ               หม่อมเจ้าจุลเจิม  ยุคล 
             หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม  ยุคล
             หม่อมเจ้าหญิงปัทมนรังษี  ยุคล 
             หม่อมเจ้าหญิงมาลิณีมงคล  ยุคล
     
             คุณพลอยไพลิน เจนเซ่น****

             พระธิดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ กับนายปีเตอร์ เจนเซ่น มีศักดิ์เป็นหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             คุณสิริกิติยา เจนเซ่น****

             พระธิดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ  กับนายปีเตอร์  เจนเซ่น  มีศักดิ์เป็นหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี  กิติยากร              นามเดิมว่า "หม่อมเจ้าหญิงพันธุ์สวลี  กิติยากร" พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่  4  เมษายน 2499 เป็นพระมารดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

             ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย  ศรสงคราม 
             พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กับพันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ มีศักดิ์เป็นพระราชภาคิไนยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             นายสินธู  ศรสงคราม   
             สามีท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานสมรส เมื่อวันที่  12  พฤศจิกายน 2516

             ร้อยเอกจิทัศ  ศรสงคราม

             บุตรชายของท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม กับนายสินธู  ศรสงคราม  มีศักดิ์เป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

               หมายเหตุ 
*  ลำดับที่  1 - 16  เรียงพระนามตามสำนักราชเลขาธิการ
**  กำลังอยู่ในระหว่างการรวบรวมพระนาม  และระบุเฉพาะเจ้านายที่ยังดำรงฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์
***  กำลังตรวจสอบว่ายังทรงมีพระชนม์อยู่หรือไม่
**** 2  ท่านนี้แม้จะเป็นสามัญชน แต่มีศักดิ์เป็นหลานเธอในรัชกาลปัจจุบัน  บางครั้งจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อยู่หน้าหม่อมเจ้าในราชสกุลอื่นๆ

ข้อมูลเมื่อเดือนพฤศจิกายน  พุทธศักราช  2549  เป็นปีที่  61  ในรัชกาลปัจจุบัน

ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

อ้างอิง http://hilight.kapook.com/view/19240

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556






อ้างอิง https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B5&hl=th&tbo=d&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=yI8LUeCNL8q4rAfp9IHoCA&ved=0CAoQ_AUoAA&biw=1024&bih=634

ความเป็นมาของต้นวงศ์จักรี

ท่านก็เริ่มต้นดีมากแต่จำไม่ใคร่ได้ เพราะอายุเพียง ๖ ปี เอาเท่าที่จำได้ ท่านบอกว่าท่านผู้ใหญ่เล่าบอกกันต่อ ๆ มาว่า ต้นราชวงศ์จักรีนั้นสืบเนื่องมาจาก พระเอกาทศรถ พระอนุชาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ท่านบอกว่า สมัยที่พระนเรศวรประกาศอิสรภาพ ไม่เป็นเมืองขึ้นของพม่าต่อไปนั้น มีชาวมอญชุดหนึ่ง มีพระยาเกียรติ พระยาราม เป็นหัวหน้า และมีพระเถระ คือพระผู้ใหญ่ ตามประวัติศาสตร์ท่านเรียกว่า เถรคันฉ่อง (คำว่า เถร มาจากคำว่า เถระ ภาษาบาลีไม่มีสระอะ ต้องเติมสระอะเอาเอง แปลว่า พระผู้ใหญ่ ไม่ใช่เถนที่คู่กับยายชีมอญคณะนี้อพยพตามพระนเรศวรมาด้วย ท่านได้พระราชทานที่อยู่ของมอญคณะนี้ให้อยู่ตรงที่ตั้งที่ว่าการอำเภอกรุงเก่าปัจจุบัน ต่อมามีพวกมอญตามมามากขึ้น คนกลุ่มนี้จึงแยกสถานที่กันอยู่ คนส่วนใหญ่อยู่ที่เขตเมืองอุทัยธานี ตั้งต้นกลุ่มอยู่ที่บ้านสะแกตรัง (กรังอีกพวกหนึ่งอยู่ที่อำเภอกรุงเก่า
หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสวรรคตแล้ว เมื่อ พ.๒๑๔๘ พระเอกาทศรถ ก็ครองราชสมบัติแทน ท่านบอกว่าสมัยพระเอกาทศรถ หลานสาวพระยาราม (ความจริงหลานสาวพระยารามก็เป็นหลานสาวพระยาเกียรติด้วย เพราะคุณหลานเรียกทั้งสองว่าเจ้าคุณปู่เหมือนกัน เป็นอันว่าหลานสาวพระยาราม พระยาเกียรติชื่อ สีมา เป็นสาวรุ่นได้เข้าเป็นสนมเอกของพระเอกาทศรถ เป็นสมัยใกล้ที่พระเอกาทศรถจะสวรรคต เป็นสนมเอกได้สองปีเศษ พระเอกาทศรถท่านก็สวรรคต
ก่อนที่ท่านพระเอกาทศรถจะสวรรคต ๑ ปี ท่านสีมาก็คลอดบุตรเป็นหญิง ต่อมาได้ตั้งชื่อว่า บัว” เมื่อฟังนิทานตอนนี้แล้วคิดว่า ท่านบัว ก็เป็นพระองค์เจ้า รวมความว่า เป็นเจ้าที่สืบเชื้อสายจากชุดเวียงชัยบุรี เชียงแสน เมื่อพระเอกาทศรถสวรรคต เมื่อ พ.๒๑๖๓ เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคครองราชสมบัติสืบต่อมา แต่ครองไม่ได้นาน ไม่ครบปีพระเจ้าทรงธรรม บุตรสนมเอกของพระเอกาทศรถ ก็ปลงพระชนม์ เจ้าฟ้าศรีเสาวภาค แล้วครองราชสมบัติแทน เป็นอันว่า วงศ์เดียวกัน แต่ทว่าท่านศรีเป็นลูกเกิดจากพระสนมเอก พ่อเดียวกันมีบุญแซงกัน บุญของท่านศรีเสาวภาคแรงน้อยกว่าจึงเสียท่าท่านทรงธรรม
ต่อมา พ.๒๑๗๑ พระเจ้าทรงธรรมสวรรคต พระเชษฐาธิราชเสวยราชสมบัติแทน พ.๒๑๗๓ พระเจ้าปราสาททอง ปลงพระชนม์พระเชษฐาธิราช แล้วตั้ง พระอาทิตย์ อายุ ๑๖ ปี ขึ้นเสวยราชขัดตาทัพเพียง ๓๖ วัน ต่อจากนั้นก็ครองราชสมบัติเองตามธรรมเนียม

ท่านบัวเป็นพระสนมเอก

มาตอนนี้เกิดเปลี่ยนวงศ์กษัตริย์ เข้าใจว่ากษัตริย์วงศ์ใหม่ คงไม่ยอมรับความเป็นเจ้าของวงศ์เก่า เพราะโค่นลงแล้วจะรับรองความเป็นเจ้าได้อย่างไร มาตอนนี้ท่านบัวเริ่มจะเป็นสาว เพราะอายุเข้าเกณฑ์ ๑๐  ปีเศษนิดหน่อย ความผ่องใสในผิวพรรณความอวบอั๋นในเนื้อหนังดูเปล่งปลั่งไม่น่าจะเดินผ่านไปโดยไม่สนใจ เข้าใจว่าบรรดาท่านที่อยากได้รับความโปรดปรานจากพระราชาก็คงเพ่งมองจ้องหมายมั่นปั้นมือไว้ รออีกหน่อยเถอะ คอยเวลามาประมาณสองปีครึ่ง ท่านบัวก็ถึงอายุ ๑๓ ปี ขาดหรือเกินก็ไม่รู้ ท่านครูสุวรรณท่านรำพึง ตอนนี้ก็ผู้มาชักนำให้เข้าถวายตัวเป็นพระสนมเอก เรื่องการขัดใจผู้แนะนำนั้นไม่สมควร ในที่สุดก็ตกลงตามนั้นท่านบัวได้ถวายตัวเป็นพระสนมเอกต่อมาก็มีบุตรชายสองคนคือ ท่านเจ้าพระยาโกษา (เหล็กกับ ท่านเจ้าพระยาโกษา (ปานและลูกหญิงชื่อ แจ่ม ต่อมาได้รับตำแหน่งที่ ท่าวจุฬาลักษณ์ (จงเข้าใจว่าคนละคนกันกับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ซึ่งอยู่ในตำแหน่งท้าวเหมือนกัน แต่มีงานคนละประเภท)

ท่านบัวเป็นเชื้อพระวงศ์หรือไม่

ตามที่สมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงตรัสว่า สมเด็จพระวันรัต (ฉิมเล่าให้ฟังว่า เจ้าฟ้ารัศมี (หญิงเจ้าฟ้าจีก (ชายทรงเล่าให้ฟังว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ มีพระธิดา อันเกิดจากพระสนมเอกคนหนึ่งชื่อ บัว เมื่อท่านตรัสมาอย่างนี้ก็เป็นอันรับรองว่า ท่านบัว เป็นเชื้อพระวงศ์ ถ้าจะว่ากันตามฐานะแล้วอยู่ในระดับพระองค์เจ้า ท่านครูสุวรรณท่านปรารภอย่างนี้ ท่านพูดต่อไปว่า ในสมัยโบราณบางสมัย ไม่นิยมลูกพระสนมขึ้นเป็นเจ้า คงใช้นามราษฎรธรรมดา แต่บรรดาศักดิ์ที่ได้รับได้ขั้นสูงเป็นพิเศษกว่าราษฎรธรรมดา ฉะนั้น ท่านบัวจึงไม่มีนามเป็นเจ้า

ว่ากันตามกฎธรรมดา

คำวินิจฉัยของท่านครูสุวรรณท่านไม่หยุดยั้งเพียงเท่านั้น ท่านกล่าวต่อไปอีกว่า การที่ทางราชการหรือประเพณีนิยมไม่ยอมรับการสืบตระกูลจากทางแม่ นั่นเป็นเพียงประเพณีที่นิยมทำกันมาเท่านั้น เนื้อแท้จริง ๆ แล้ว การสืบตระกูลทางสายแม่มีความสำคัญมาก เพราะลูกนั้นเป็นลูกของแม่มากกว่าลูกของพ่อ พ่อให้เชื้อความเกิดแก่ลูกแล้วก็มีหน้าที่รับภาระจัดหาทรัพย์สินมาเพื่อครอบครัว แต่แม่ก็ต้องหากินหาทรัพย์สินเหมือนกัน
ภาระที่แม่มีกับลูกคือชีวิต และเลือดเนื้อของลูกทั้งตัวนั้น ลูกได้มาจากเลือดในอกของแม่ การประคับประคองให้ลูกทรงชีวิตก็เป็นหน้าที่ของแม่โดยตรง แล้วทำไมจึงไม่ยอมให้สืบตระกูลทางแม่บ้าง สำหรับท่านครูสุวรรณท่านพูดว่าท่านถือว่าแม่กับพ่อมีความสำคัญเท่า ๆ กัน ไม่มีพ่อการก่อเชื้อให้มีร่างกายก็มีไม่ได้ แต่ถ้าไม่มีจะรับเชื้อนั้นไว้ พ่อทำอย่างไรจึงจะมีลูก ก็รวมความว่า พ่อกับแม่ก็มีความสำคัญเท่า ๆ กัน ที่กล่าวมานี้ท่านบอกว่าท่านกล่าวตามธรรมเอาความจริงมาใช้
ฉะนั้นเมื่อกล่าวกันตามธรรมดาแล้ว ท่านบัว ก็มีเชื้อสายเป็นเจ้าสืบเนื่องมาจากพระเอกาทศรถ พระเอกาทศรถท่านเป็นเจ้าวงศ์พระเจ้าพังคราช สายชัยบุรี เชียงแสน ฉะนั้น ท่านบัว ก็ต้องเป็นเจ้าวงศ์เชียงแสน ตระกูลพระเจ้าพังคราช สายชัยบุรีเหมือนกัน ว่ากันตามเชื้อสายแล้วก็เป็นสายตระกูลกษัตริย์ดั้งเดิมของไทยนั่นเอง
แต่เมื่อท่านไม่ยอมรับเพราะเป็นหญิงก็เป็นเรื่องของท่าน ส่วนพวกเราควรยอมรับความจริงเลือดเนื้อเชื้อชัยวงศ์นี้มี พระเจ้าพรหมมหาราช เป็นนักรบที่ฉกาจฉกรรจ์มาก เชื้อสายของท่านจึงเป็นนักรบที่มีความสำคัญต่อชาติมาก เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ เป็นต้น รวมความแล้วผู้เล่าให้ฟังคือท่านครูสุวรรณ ท่านยอมรับว่า ท่านบัว เป็นเจ้าตามธรรม

อ้างอิง http://www.praruttanatri.com/v1/special/books/nitanprawat/nitanprawat06.html